O25-การรายงานผลการดำเนินการตามมาตรการการยกระดับคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน

ผลการดำเนินการ
ตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของสถานีตำรวจภูธรพลูตาหลวง

ตามที่ได้กำหนดมาตรการ/กิจกรรม เพื่อส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในสถานีตำรวจภูธร
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยได้ดำเนินการขับเคลื่อนมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส ของ
สถานีตำรวจภูธรพลูตาหลวง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ดังต่อไปนี้

แต่งตั้งคณะกรรมกรรมการขับเคลื่อนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐของสถานีตำรวจ

ภาพกิจกรรมที่แสดงถึงการนำมาตรการไปปฏิบัติจริง/การพัฒนาจุดบริการ One Stop Service อย่างเป็นรูปธรรม

การยกระดับการเผยแพร่ข้อมูลสาธารณะ OIT ตามแบบตรวจสอบการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ

ชี้แจงและให้ข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจในหน่วยงาน

 เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567 สถานีตำรวจภูธรพลูตาหลวง ได้ดำเนินการประชุมการขับเคลื่อนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA)ของสถานีตำรวจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมี พันตำรวจเอก คมสรร คำตุ่นแก้ว ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรพลูตาหลวง  เป็นประธานการประชุม ซึ่งการประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อแจ้งคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ของสถานีตำรวจ และทำความเข้าใจ กรอบการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ของสถานีตำรวจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประกอบด้วย 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่

1) การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data Integrity and Transparency Assessment: OIT)

– ให้สถานีตำรวจศึกษาการเข้าใช้ระบบ POLICEITA พร้อมจัดทำข้อมูลสาธารณะตามแบบฟอร์มที่กำหนดลงในระบบดังกล่าว

2) แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (Internal Integrity and Transparency Assessment: IIT)

– ให้สถานีตำรวจทำความเข้าใจในข้อคำถามและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับประเด็นข้อคำถามให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในทราบ ก่อนทำการประเมินแบบวัดการรับรู้

3) แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (External Integrity and Transparency Assessment: EIT)

– ให้สถานีตำรวจนำช่องทางการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (OIT) เปิดเผย ณ จุดให้บริการ และพัฒนาการให้บริการเพื่อสร้างความรวดเร็วและความสะดวกให้แก่ประชาชน ก่อนทำการประเมินแบบวัดการรับรู้

คำสั่งมอบหมายผู้รับผิดชอบการยกระดับการเผยแพร่ข้อมูลสาธารณะ (OIT)

การกำกับติดตามการพัฒนา/การเผยแพร่ข้อมูลสาธารณะอย่างต่อเนื่องโดยหัวหน้าสถานีตำรวจ